หน้าเว็บ

Glossary

1G
การสื่อสารไร้สาย ยุค 1G ย่อมาจาก First Generation Mobile Network คือระบบสื่อสารไร้สาย ที่ใช้เทคโนโลยีระบบอนาล็อก โดยการสื่อสารไร้สายยุค 1 จี ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถบริการด้านเสียงเท่านั้นและยังมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพของเครือข่ายเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ที่เป็นการสื่อสารไร้สาย ยุค 1G คือ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ AMPS (Advanced Mobile Phone Service) ซึ่งเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในราวปี ค.ศ. 1980

2G
การสื่อสารไร้สายยุค 2G ย่อมาจาก Second Generation Mobile Network คือ การสื่อสารไร้สายด้วยเทคโนโลยีระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้น ส่งผลให้การสื่อสารด้วยเสียง มีคุณภาพเพิ่มขึ้นสูงกว่าการ สื่อสารในยุค 1G ในอดีตที่ผ่านมา เทคโนโลยีในยุค 2G สามารถให้บริการการสื่อสารทางเสียง และสามารถรับ - ส่งข้อมูลแบบ (circuit-switch) ด้วยความเร็วที่ระดับ 9.6 – 14.4 Kbps ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยียุค 2G กำลังถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี ที่ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในระดับ 2.5G, 2.75G และ 3G

2.5G

การสื่อสารไร้สายในยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยีในระดับ 2G แต่มีประสิทธิภาพ ด้อยกว่ามาตรฐานการสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูลแบบแพคเก็ต ที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติเทคโนโลยีจีพีอาร์เอส (GPRS) นับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ในระดับ 2.5G

2.75G
การสื่อสารไร้สายในยุค 2.75G เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก GPRS เพื่อตอบสนองความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่ยุค 3G โดยมีเทคโนโลยี EDGE สำหรับระบบ GSM และ CDMA2000(1XRTT)  สำหรับระบบ CDMA

3G
3G เป็นระบบเครือข่ายไร้สายรุ่นล่าสุด (สำหรับบ้านเรา) ที่ทำงานบนพื้นฐานของระบบ IP ( Internet Protocol )ผ่านอุปกรณ์พกพาโดยสามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 144 กิโลบิตต์ต่อวินาทีหรือสูงกว่าในสภาวะการใช้งาน ที่หยุดนิ่งอยู่กับที่หรือมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง ในปี 2542 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ( ITU - International Telecommunications Union ) ได้ประกาศให้ระบบ 3G เป็นมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วยมาตรฐานการทำงาน 5 แบบ โดยเทคโนโลยีหลักๆ 3 เทคโนโลยีล้วนเป็นระบบซีดีเอ็มเอ ได้แก่: ระบบซีดีเอ็มเอ 2000 (CDMA2000) ไวด์แบนด์-ซีดีเอ็มเอ หรือ ดับบลิว-ซีดีเอ็มเอ (W-CDMA) ทีดีเอสซีดีเอ็มเอ (TD-SCDMA)

3GPP
ย่อมาจาก Third Generation Partnership Project เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานมาตรฐานการสื่อสารโทรคมนาคมบนโครงข่าย GSM, GPRS, EDGE, WCDMA เป็นหลัก เพื่อกำหนดมาตรฐานกลางในการผลิต และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ 3G

3GPP2
ย่อมาจาก Third Generation Partnership Project 2 เป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานมาตรฐานการสื่อสารโทรคมนาคมในรูปแบบเดียวกันกับ 3GPP แต่เน้นที่การกำหนดมาตรฐานกลางให้มือถือเครือข่าย CDMA2000 และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก

AMPS

ย่อมาจากคำว่า Advanced Mobile Phone Service ซึ่งเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แบบอนาล็อกยุคแรก ที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรกในทศวรรษ 1980

Analog

เทคโนโลยีเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย ที่ใช้สัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปในรูปของคลื่นเสียง ผ่านสัญญาณวิทยุระบบอนาล็อก จะสามารถจัดช่องสัญญาณให้ใช้งานได้ 1 สายต่อ 1 ช่องสัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากระบบดิจิตอล ที่สามารถรองรับการใช้งานได้หลาย ๆ สายพร้อมกัน ต่อ 1 ช่องสัญญาณ ดังนั้นการสื่อสารไร้สายส่วนใหญ่ จึงนิยมใช้ระบบการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล

ANSI

ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้แทนของประเทศสหรัฐอเมริกา ในการกำกับองค์กรที่ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานสากลชั้นนำต่างๆ อาทิ องค์กรกำหนดมาตรฐานสากล (ISO) ANSI จะรับผิดชอบในด้านการพัฒนา และจัดทำมาตรฐานและรูปแบบของการรับส่งข้อมูล ที่ใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา

API

Application Programming Interface (API) เป็นซอฟต์แวร์มาตรฐาน ที่ใช้สำหรับการให้บริการข้อมูลการโทร และการแทรกสัญญาณ ซึ่งโปรแกรมแอพพลิเคชั่นต่างๆ สามารถใช้ในการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายการสื่อสารผ่านโครงข่ายและการสื่อสารระหว่างโปรแกรม ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี BREW รองรับการใช้งานระบบ API ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำหรับอุปกรณ์การสื่อสารไร้สาย

ARPU
Average Revenue per User หมายถึง รายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมายของผู้ให้บริการเครือข่าย

Band
แบนด์ ในวงการสื่อสารไร้สาย หมายถึง ย่านความถี่ หรือช่องสัญญาณความถี่ ในปัจจุบันนี้ ผู้ให้บริการการสื่อสารไร้สายในประเทศไทยจะใช้ช่องสัญญาณความถี่ที่ 800MHz, 900 MHz, 1800 MHz และ 1900 MHz ในการรับ-ส่งข้อมูล

Bandwidth

แบนด์วิธ ในวงการสื่อสารไร้สาย หมายถึง ความกว้างของช่องสัญญาณความถี่ ที่สามารถรองรับในการส่งสัญญาณ สำหรับการสื่อสารระบบดิจิตอลนั้น แบนด์วิธ จะมีหน่วยเป็นบิตต์ต่อวินาที (bps) หรือ กิโลบิตต์ต่อวินาที(Kbps) สำหรับระบบอนาล็อกจะมีหน่วยเป็นเฮิร์ซ (Hz)

Base Station

สถานีฐาน คือ สถานที่ติดตั้งเครื่องรับ – ส่งสัญญาณ โดยเชื่อมต่อผ่านสัญญาณวิทยุ ที่อยู่ระหว่างระบบสื่อสารไร้สาย และอุปกรณ์การสื่อสารไร้สาย อุปกรณ์ที่ติดตั้งในสถานที่ประกอบด้วย เสาอากาศ วิทยุรับ-ส่งสัญญาณ และศูนย์ควบคุมสัญญาณวิทยุ สถานีฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการสื่อสารไร้สาย เนื่องจากเซลล์แต่ละเซลล์บนเครือข่ายการสื่อสารระบบไร้สาย จำเป็นต้องส่งสัญญาณผ่านสถานีฐาน

Bluetooth
มาตรฐานการสื่อสารไร้สาย ในระยะทางสั้นๆ ทำงานโดยใช้ระบบ Frequency Hopping Spread System (FHSS) ส่งข้อมูลแบบแพคเก็ตผ่านช่องสัญญาณความถี่ที่ 2.45 GHz การรับ-ส่งข้อมูลในระบบ Bluetooth จะสามารถทำงานได้ในระยะทางใกล้ ๆ เฉลี่ยไม่เกิน 10 เมตร โดยมีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1 Mbps เทคโนโลยี Bluetooth ช่วยให้การรับ – ส่ง ข้อมูลและเสียงระหว่างโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อ

BREW

ย่อมาจาก Binary Runtime Environment for Wireless ระบบ BREW ของบริษัทควอลคอมม์เป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิด ซึ่งเปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถคิดค้น สร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ทำงานบนอุปกรณ์การสื่อสารไร้สาย ชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ระบบ BREW ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหล และติดตั้งแอพพลิเคชั่นต่างๆ อาทิ เกมส์ ริงโทน และเนื้อหาสาระต่างๆ ลงในโทรศัพท์ที่รองรับระบบ BREW อย่างง่ายดาย โดยระบบ BREW จะทำงานระหว่างแอพลิเคชั่น และระบบปฏิบัติการของชิป ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.qualcomm.com/brew

Broadband
คือ คำเรียกทั่วๆ ไปของระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ชนิดต่างๆ เช่น DSL และโมเด็มผ่านสายเคเบิล บรอดแบนด์ สามารถส่งข้อมูลรูปแบบต่างๆ อาทิ เสียง ข้อมูล และวิดีโอ ได้พร้อมๆ กัน บรอดแบนด์ หมายถึง เทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดประมาณ 2 Mbps หรือมีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56 K ถึง 40 เท่า

CDG

กลุ่มนักพัฒนาระบบซีดีเอ็มเอ หรือ CDMA Development Group เกิดขึ้นจากการรวมตัวของบริษัทต่าง ๆ ที่หันมาร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการเพื่อผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอมาใช้ รวมทั้งร่วมส่งเสริม ให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี ซีดีเอ็มเออย่างแพร่หลายทั่วโลกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ซีดีจีมีองค์กรสมาชิกมากกว่า 100 บริษัทที่ร่วมมือกันทำให้เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบอื่น ๆ และมีส่วนช่วยผลักดันให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสใช้ซีดีเอ็มเอได้เร็วยิ่งขึ้นข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.cdg.org

cdmaOne
cdmaOne เป็นชื่อแบรนด์และเครื่องหมายการค้า ที่สงวนสิทธิ์ให้นำไปใช้ได้เฉพาะกับองค์กร หรือบริษัทสมาชิกในกลุ่ม CDGทั้งนี้ cdmaOne ยังเป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบซีดีเอ็มเอรุ่นแรกของควอลคอมม์ ซึ่งทำงานบนมาตรฐานIS-95A และ IS-95B โดยใช้ช่องสัญญาณ 1.25 MHz สำหรับรับ-ส่งข้อมูลและเสียง

CDMA

Code Division Multiple Access (ซีดีเอ็มเอ) เทคโนโลยีไร้สายดิจิตอล อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เทคนิคของ "การกระจายแถบความถี่" (spread spectrum) เพื่อส่งคลื่นวิทยุผ่านแถบความถี่ช่วงกว้าง เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอมีศักยภาพเหนือชั้นกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ มาก เพราะให้คุณภาพเสียงที่ชัดเจน และมีโอกาสที่สายหลุดได้ยากกว่า ปัจจุบัน มีผู้ใช้ระบบซีดีเอ็มเออยู่กว่า 212.5 ล้านรายทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย และอีกหลายแห่งทั่วโลก

CDMA2000

CDMA2000 คือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่พัฒนามาจากเทคโนโลยี cdmaOne ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการเสียง และข้อมูลที่มีความเร็วสูงเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีในตระกูลCDMA2000 ประกอบด้วย CDMA2000 1X, CDMA2000 1xEV-DO และ CDMA2000 1xEV-DV สมาพันธ์ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ได้ประกาศให้เทคโนโลยี CDMA 2000 เป็นระบบการสื่อสารไร้สายยุค 3G นอกจากนี้ CDMA2000 ยังเป็นที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า IS-2000

CDMA2000 1X
เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอที่มีการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในไทยแล้วในขณะนี้ คือระบบเครือข่าย DMA2000 1X เทคโนโลยีนี้ มีอัตราการส่งข้อมูลความเร็วสูงสุดถึง 153 กิโลบิตต์ต่อวินาที และมีความเร็วในการส่งข้อมูล โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 50-90 กิโลบิตต์ต่อวินาที ปัจจุบันเครือข่ายซีดีเอ็มเอ 2000 1X ให้บริการด้วย ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลไร้สายที่สูงที่สุด เหนือกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีเปิดให้บริการอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน นอกจากนี้เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ยังมีแนวทางในการพัฒนาให้มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสื่อสาร ในยุค 3G

CDMA2000 1xEV-DO
1xEV-DO ย่อมาจาก First Evolution, Data Optimized เทคโนโลยี 1xEV-DO มีความสามารถในการรับ – ส่งข้อมูล ความเร็วสูงสุด ที่ระดับ 2.4 Mbps โดยใช้ช่องสัญญาณความถี่1.25 MHz สำหรับการรับ - ส่งข้อมูลโดยเฉพาะเท่านั้น และมีอัตราความเร็วเฉลี่ยมากกว่า 700 Mbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิล เทคโนโลยี CDMA2000 1xEV-DO มีความเร็วสูงเพียงพอที่จะรองรับ แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ต้องการประสิทธิภาพ ในการส่งข้อมูลความเร็วสูง เช่น วิดีโอ- สตรีมมิ่ง และการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ CDMA2000 1xEV-DO รุ่นต่อไปในอนาคต จะได้รับการพัฒนาให้สามารถรับข้อมูล จากสถานีฐาน (forward link)ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 3.08 Mbps

CDMA2000 1xEV-DV
1xEV-DV เป็นคำย่อมาจาก 1XEvolution, Data and Voice ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในขั้นตอน ระหว่างการพัฒนา และคาดว่าจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ในปีพ.ศ. 2548 เทคโนโลยี CDMA2000 1xEV-DV จะสามารถให้บริการรับ–ส่งทั้งเสียงและข้อมูล โดย 1xEV-DV รุ่น Release C จะมีความเร็วในการรับข้อมูลจากสถานีฐาน ที่ระดับ 3.08 Mbps และมีความเร็วในการส่งข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไปยังสถานีฐาน (reverse link) ที่ระดับ 153 Kbps สำหรับรุ่น Release D จะรองรับความเร็วในการรับข้อมูลจากสถานีฐาน ที่ 3.08 Mbps และมีความเร็วในการส่งข้อมูลไปยังสถานีฐาน ที่ 1.0 Mbps

Dual Band
หมายถึง ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ได้รับการออกแบบให้สามารถใช้งานได้บนช่องสัญญาณความถี่ 800 MHz และ 1900 MHz โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับระบบ Dual band จะสามารถปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณ เพื่อรองรับการใช้งานทั้งโทรออกและรับสายได้ ระหว่าง 2 ช่องสัญญาณนี้

Dual Mode
เครื่องโทรศัพท์ไร้สายแบบ Dual Mode จะสามารถรองรับสัญญาณความถี่ ทั้งแบบอนาล็อกและดิจิตอล โดยใช้ช่องสัญญาณความถี่ ที่ 800 MHz และ 1900 MHz

EDGE
EDGE หรือ Enhanced Data Rate for Global Evolution คือ เทคโนโลยีแห่งยุค 2.75G ที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์โทรคมนาคม ระหว่างประเทศ EDGE เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีระบบจีพีอาร์เอส (GPRS) ในภูมิภาคอเมริกา อัตราความเร็วในการับส่งข้อมูลด้วย เทคโนโลยี EDGE อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 100 Kbps ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ในภูมิภาคยุโรปจะหันมาเลือกอัพเกรดระบบจาก GPRS ไปเป็นเทคโนโลยีระบบ UMTS หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า WCDMA

GPRS
GPRS หรือ General Packet Radio Service คือ การเพิ่มมาตรฐานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจีเอสเอ็มให้มีสมรรถนะในการรองรับ การสื่อสารด้วยข้อมูลแบบแพ็กเก็ตเพิ่ม บนเครือข่ายเสียงที่มีอยู่เดิม เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสจะใช้ช่องเวลา (time slot) เหมือนกับการสื่อสารด้วยเสียง โดยช่องเวลาแต่ละช่องจะมีขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลประมาณ 9.6 Kbps เครือข่าย GPRS จะใช้ช่องเวลา 3 ช่อง ในการส่งข้อมูลจำนวน 28.8 Kbps ไปยังเครื่องโทรศัพท์ และใช้ช่องเวลา 1 ช่อง ในการส่งข้อมูลจำนวน 9.6 Kbps จากเครื่องโทรศัพท์กลับไปยังเครือข่ายGPRS มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด ที่ระดับต่ำกว่า 50 kbps ดูรายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยียุค 2.5G

CgpsOne
เทคโนโลยีสนับสนุนระบบค้นหาพิกัดตำแหน่ง ที่ทำงานด้วยการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี ระบบค้นหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ผ่านดาวเทียม (Global Positioning System) และเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเพื่อประมวลข้อมูล และค้นหาตำแหน่งที่ให้ความแม่นยำสูง gpsOne มีบทบาทอย่างยิ่งในการให้บริการค้นหาตำแหน่งต่าง ๆ สามารถรองรับการใช้งาน ในภูมิ-ประเทศหลากหลาย ครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล ทั้งยังช่วยให้การคำนวณค้นหาได้รวดเร็วและถูกต้อง แม่นยำสูง ไม่ว่าจะอยู่ในภาวะฉุกเฉิน หรือใช้สำหรับรองรับบริการ ค้นหาตำแหน่งต่าง ๆ ใน เชิงพาณิชย์

GSM
ย่อมาจากคำว่า Global System For Mobile Communications จีเอสเอ็ม เป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป เดิมเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับบริการสื่อสารทางเสียงและการรับ – ส่งข้อมูลแบบง่าย ๆ ปัจจุบันมาตรฐานจีเอสเอ็มมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ทั้งในยุโรปและเอเชีย

GSM1X
GSM1X เป็นการผสมผสานเทคโนโลยีที่รวมเครือข่าย GSM-MAP และ CDMA2000 1X เข้าไว้ด้วยกัน โดย GSM1X จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายหลักของ GSM และ GPRS ที่มีอยู่เดิม โดยระบบจะยังคงมีบริการและคุณสมบัติต่าง ๆ ที่มีอยู่เดิมอย่างครบถ้วน เพียงเพิ่มเติมอุปกรณ์การเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุ ระบบ CDMA2000 1X เข้าไปบนเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นระบบ GSM1X จะมีประสิทธิภาพในการใช้งานด้วยเทคโนโลยี CDMA ทั้งในด้านคุณภาพของเสียง และความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นตัวผลักดันให้สามารถ โรมมิ่งสัญญาณการใช้งานได้กว้างไกล ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.qualcomm.com/GSMIX

GPS
GPS หรือ Global Position System คือ ระบบค้นหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก ด้วยสัญญาณวิทย ุ ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการกำหนดพิกัดตำแหน่งบนผิวโลก ทั้งบนผืนดิน อากาศ และทะเล ระบบ GPS ทำงานผ่านสัญญาณวิทยุที่ส่งจาก ดาวเทียมบนท้องฟ้าไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นดิน สัญญาณวิทยุที่รวบรวมจากดาวเทียมต่าง ๆ จะนำมาใช้ในการคำนวณ ระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณ และดาวเทียมแต่ละดวง สำหรับเครื่องรับสัญญาณ GPS จะมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูกลง ส่งผลให้สามารถนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้หลายรูปแบบ อาทิ ระบบบริหารการจัดการขนส่ง การควบคุมทุจริต และการรักษาความปลอดภัย

IEEE

IEEE หมายถึง สถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์หลากหลายประเภท รวมทั้งการกำหนดมาตรฐาน 802.11 สำหรับระบบ WLANS ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.ieee.org

ITU
ITU ย่อมาจากคำว่า International Telecommunication Union หมายถึง สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ เป็นหน่วยงานในสังกัดขององค์การสหประชาชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดแนวทางการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานระดับสากล กรุณาเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.itu.int/home

IMT-2000
IMT-2000 หมายถึง มาตรฐานการสื่อสารโทรคมนาคมเคลื่อนที่ ระดับสากล ปี 2000 ย่อมาจากคำว่า International Mobile Telecommunications for the Year 2000 สมาพันธ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้กำหนดกรอบมาตรฐานของระบบเครือข่ายไร้สาย ยุค 3G ที่เรียกว่า มาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งมีเทคโนโลยี 5 ชนิด ที่มีมาตรฐานตรงตามกรอบมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ระบบ CDMA2000 (Multi-carrier) และระบบ WCDMA/UMTS (Direct Sequence) ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.3gtoday.com

MMS
MMS คือ Multimedia Messaging Service เป็นการรับส่งข้อมูลแบบตัวอักษร, รูปภาพ, เสียง หรือ วีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถรองรับไฟล์รูปภาพได้ทั้งแบบ JPG, GIF หรือ BMP และไฟล์เสียงแบบ MP3, WAV หรือ MIDI โดยส่งจาก โทรศัพท์มือถือ ไปยัง โทรศัพท์มือถือ ที่รองรับ MMS ซึ่งทำให้โทรศัพท์มือถือของผู้รับ สามารถเปิดดูข้อความรูปภาพ, อักษร หรือ เสียงจากตัวเครื่องได้ทันที

PDC
PDC เป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอลส่วนบุคคล ย่อมาจากคำว่า Personal Digital Cellular : PDC ที่ใช้งานอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และไม่สามารถใช้งานร่วมกับเครือข่าย การสื่อสารไร้สายระบบอื่น ๆ ได้ PDC เป็นระบบการสื่อสารไร้สายที่ใช้เทคโนโลยีระบบ TDMA ในยุค 2G ทำงานในย่านความถี่ 800 MHz และ 1500 MHz

PLMN
คือ Public Land Mobile Network

PSTN
คือ Public Switched Telephone Network

R-UIM
R-UIM ย่อมาจากคำว่า Removable User Interface Module หมายถึง ซิมการ์ดของระบบ CDMA ที่ติดตั้งในโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ CDMA และสามารถถอดเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ R-UIM ยังหมายถึงการ์ดอัจฉริยะ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สนับสนุนการทำโรมมิ่งข้ามเครือข่าย CDMA และ GSM ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ซิมการ์ดมีคุณสมบัติในการระบุตัวผู้ใช้งาน รวมถึงบริการต่าง ๆ ที่ผู้ใช้บริการลงทะเบียนเลือกใช้บริการอยู่ในขณะนั้น ซิมการ์ดระบบซีดีเอ็มเอ ยังมีขีดความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ อาทิ หมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่

SMS
SMS ย่อมาจาก Short Message Service เป็นบริการรับส่งข้อความของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล

Spread Spectrum (การกระจายแถบความถี่)
"การกระจายแถบความถี่" เป็นกระบวนการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุ (modulation) ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะกระจายการส่งข้อมูลทั่วทั้งย่านความถี่ การกระจายข้อมูลทั่วทั้งแถบคลื่นความถี่นี้ จะช่วยให้สัญญาณมีความต้านทาน ต่อสัญญาณรบกวน คลื่นแทรก และการลักลอบดักฟัง ซึ่งช่วยให้การพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือ ในระบบซีดีเอ็มเอมีคุณภาพเสียงที่ชัดเจนกว่าและมีความปลอดภัยสูงกว่าระบบจีเอสเอ็ม

TD-SCDMA
TD-SCDMA ย่อมาจากคำว่า Time Division - Synchronous Code Division Multiple Access เทคโนโลยีระบบ TD-SCDMA เป็นหนึ่งในสามของเทคโนโลยีระบบ CDMA ที่มีมาตรฐานการ ื่อสารในระดับ 3G ที่ได้รับการรับรองโดย ITU ปัจจุบัน TD-SCDMA ได้ถูกพัฒนาและผลักดันที่จะนำมาใช้ในประเทศจีน

TDMA : Time Division Multiple Access (ทีดีเอ็มเอ)
ทีดีเอ็มเอ เป็นการส่งสัญญาณสื่อสารไร้สายดิจิตอล ที่ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ช่องสัญญาณ ความถี่วิทยุเดียวกันได้โดยไม่รบกวนกัน โดยผู้ใช้แต่ละรายจะได้รับการจัดสรรเวลา ในการใช้ช่องสัญญาณแต่ละช่อง สลับกันไป

Tri-Mode
มีความสามารถในการรองรับการใช้งานได้ถึง 3 ระบบ (Tri - Mode หรือ Triple-Mode) คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถใช้งานได้ บนเครือข่ายการสื่อสารระบบไร้สาย ที่เป็นระบบอนาล็อก และดิจิตอล สามารถรองรับการใช้งานได้บนย่านความถี่หลากหลายประเภท

UMTS
UMTS ย่อมาจากคำว่า Universal Mobile Telecommunications System หมายถึงระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเคลื่อนที่ในยุคที่ 3 (3G) หรือเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า WCDMA

WAP

WAP ย่อมาจากคำว่า Wireless Application Protocol หมายถึง มาตรฐานการสื่อสาร ที่ทำให้อุปกรณ์การสื่อสารไร้สาย สามารถค้นหาและแสดงข้อมูล จากเว็บไซต์ต่าง ๆ บนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เพจเจอร์ และคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือปาล์ม

WCDMA
WCDMA ย่อมาจากคำว่า Wideband CDMA เทคโนโลยี WCDMA ทำงานบนแถบความถี่กว้างที่ 10 MHz และเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ในยุค 3G ที่ได้รับรองโดย ITU โดยใช้ช่องความถี่สำหรับการส่ง และรับสัญญาณระหว่างเครื่องมือถือกับสถานีฐานช่องละ 5 MHz ซึ่งสามารถรับ - ส่งข้อมูล ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2 เมกะบิตต์ต่อวินาที ระบบ WCDMA เป็นเทคโนโลยีหนึ่งในมาตรฐาน IMT-2000 และเป็นที่รู้จักในภูมิภาคยุโรป ในชื่อของระบบ UMTS ข้อมูลเพิ่มเติมค้นหาได้ที่ www.3gtoday.com

Wi-Fi
Wi-Fi ย่อมาจาก " Wireless Fidelity " หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า WLAN คือมาตรฐานอีเธอร์เน็ต หรือ LAN ไร้สาย 802.11b ที่ทำงานในย่านความถี่ 2.4 GHz

Wireless spectrum

แถบคลื่นสัญญาณความถี่เพื่อใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูลและเสียงระบบไร้สาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...