หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เจาะลึกการทดสอบ 4G ในไทย

ลายๆคนอาจจะเคยได้ติดตามข่าวการทดสอบ 4G ของไทย โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมากันบ้างแล้วว่ามีงานแถลงข่าว 4G Thailand The First 100 Mbps เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ที่บริเวณลานพาร์คพารากอน สยามพารากอน   ซึ่งเทคโนโลยีนี้ในต่างประเทศก็เริ่มใช้กันบ้างแล้ว ส่วนในไทยก็เพิ่งจะได้ใช้ 3G แบบอัพเกรดจาก GSM เครือข่ายเดิม ไม่ใช่ 3G มาตรฐาน ส่วนคลื่นมาตรฐานโดย TOT ก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งประเทศซะที  ก็มาทำ 4G แล้วเหรอ? วันนี้เลยขอเจาะลึกการทดสอบในครั้งนี้กันซะหน่อยครับ


ทำความรู้จัก  4G

เทคโนโลยี LTE หรือ Long Term Evolution เป็นชื่อเรียกที่รู้จักกันว่า 4G (โทรศัพท์ยุคที่ 4 ) เป็น เทคโนโลยีอนาคต ที่ต่อยอดจาก 3G  ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถตอบสนองการใช้งานบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง โดยทำความเร็วตั้งแต่ 100 Mbps – 1024 Mbps (1Gbps) เลยทีเดียว เร็วกว่า 3G เดิมถึง 7 เท่า

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

dtac3G กับพื้นที่ทุกอำเภอทั่วไทย

dtac3g_map
ลังจากที่ปล่อยให้เจ้าอื่นทิ้งห่างแบบเห็นฝุ่นอยู่ไกลๆ ล่าสุดดีแทคเพิ่งเปิดตัวโฆษณาชุดใหม่ออกสู่ตลาด โดยมีเป้าหมายจะขยายสัญญาณ 3G ให้ครอบคลุมทุกอำเภอทั่วประเทศไทย ภายในปี 2556

เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเครือข่าย 3G ที่ดีที่สุด และมอบประสบการณ์สื่อสารที่เหนือกว่าด้วยแคมเปญ Life Network ตามที่ทาง CEO ดีแทคเคยได้ประกาศไว้ ดีแทคจึงได้เดินหน้าขยายพื้นที่ให้บริการ dtac 3G ครอบคลุมพื้นที่เพิ่มเติมอีก 19 จังหวัด ได้แก่
  • กรุงเทพฯและปริมณฑล กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี
  • ภาคกลาง ฉะเชิงเทรา นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี
  • ภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี
  • ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี
  • ภาคใต้ ภูเก็ต
และอีก 26 จังหวัด ภายในเดือนมีนาคมนี้ คือ

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เช็คเบอร์มือถือ

number ส่วนใหญ่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแต่ละราย มักจะออกโปรโมชั่นเพื่อจูงใจให้ผู้ใช้บริการของตนเน้นการโทรภายในระบบเครือข่ายของตน โดยการคิดค่าโทรในราคาถูก หรือให้โทรฟรีตามช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่า IC หรือ Interconnection Charge สำหรับการเชื่อมโยงวงจรไปยังผู้ให้บริการรายอื่น และเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าชักจูงบุคคลรอบข้างไม่ว่าจะเป็นพรรคพวกเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หันมาใช้เครือข่ายเดียวกัน เพื่อประหยัดค่าโทรศัพท์ แล้วอย่างนี้หากเราไม่รู้ว่าคนที่เราต้องติดต่อด้วย ใช้โทรศัพท์ระบบอะไร เราจะตรวจสอบได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดลองหันมาใช้บริการ เช็คเบอร์มือถือ กันดีกว่า

ประโยชน์คืออะไรล่ะ ที่แน่ๆประโยชน์ก็คือถ้าโปรโมชั่นของเราโทรในระบบราคาถูกแสนถูก หรือโทรฟรีในระบบ ในเครือข่ายเดียวกัน ก็จะช่วยให้เราประหยัด และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะถึงแม้ว่าเราจะต้องโทรออกนอกระบบหรือต่างระบบกัน เราก็สามารถวางแผนในการคุยได้หากเรารู้ก่อนว่าเบอร์นี้ต่างระบบกันคุยนานไม่ได้ ควรคุยเท่าที่จำเป็น เพราะจะมีค่าโทรแพงกว่า


วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

IDD โทรทางไกลระหว่างประเทศ

IDD

IDD หรือบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ สามารถแบ่งตามระบบการให้บริการที่มีการใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน ได้ 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
  1. ระบบต่อตรง (International Direct Dialing : IDD) ผ่าน Access Code หรือ IDD Prefix ให้บริการต่อตรงอัตโนมัติผ่านระบบเลขหมาย 3  หลัก (Three Digits Number) ผ่านจากการใช้บริการผ่านโทรศัพท์ประจำที่ (Public Switched Telephone Network : PSTN) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แล้วเชื่อมต่อไปยังเคเบิลใยแก้วใต้น้ำต่อไป
  2. ระบบการสื่อสารทางเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (VoIP) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocal : IP) ซึ่งเป็นการใช้บริการผ่ารโทรศัพท์ประจำที่ (Public Switched Telephone Network : PSTN) และโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ แล้วเชื่อมต่อไปยังเกตเวย์ (Gateway) และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศต่อไป ระบบ VoIP มีทั้งที่มีเลขหมายและไม่มีการใช้เลขหมายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศที่มีระบบ IDD มักจะมีการให้บริการผ่านระบบ VoIP ที่มีเลขหมายควบคู่กัน

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จับตาเทคโนโลยีล่าสุด by … ดร.พีรเดช

ป็นอีกบทความที่น่าสนใจและต้องจับตามองสำหรับ LTE เทคโนโลยีที่ถูกวางตัวให้เป็น 4G ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากในบ้านเรากำลังเริ่มทดสอบกันแล้ว (ทั้งๆที่ 3G ก็ยังร่อแร่) โดยพี่ใหญ่เอไอเอส เลยนำมาประดับไว้ในบล็อกไว้ให้ติดตามกันต่อไป

LTE_logoเทคโนโลยีไร้สายล่าสุดอย่าง Long-Term Evolution (LTE) เป็นที่หมายปองของโมบายล์โอเปอเรเตอร์ทั่วโลก เราน่าจะเห็นโครงข่ายที่ใช้ย่านความถี่แตกต่างกันทั่วโลก คาดกันว่าอาจจะมากเป็นสิบย่านความถี่ก็เป็นได้ เพราะในแต่ละประเทศก็มีความถี่ที่ว่างอยู่ต่างกันไป

ผู้ผลิตดีไวซ์คงต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างไม่กระพริบตาเนื่องจากความหลากหลายนี้ อย่างไรก็ตามกฎธรรมชาติทางธุรกิจจะเป็นตัวกำหนดเอง อย่างในโลกของ 2G ก็มีแบนด์ความถี่หลักๆ สามย่านเท่านั้น จากความแพร่หลายมักจะเป็นตัวกำหนด ในช่วงเริ่มต้นก็คงจะมีความถี่เพียงไม่กี่ย่านที่ดีไวซ์จะรองรับได้ มองกันว่าเราจะได้เห็นดีไวซ์ที่รองรับความถี่ต่ำอยู่ในตลาดทั่วโลกเกือบครึ่งหนึ่งในอีกสี่ปีข้างหน้า โอเปอเรเตอร์หลักๆ อย่าง Verizon Wireless และ AT&T ที่ใช้ความถี่ต่ำย่าน 700MHz ในสหรัฐฯ ข้อดีที่โอเปอเรเตอร์ต่างพยายามแย่งชิงย่านความถี่ต่ำมาให้บริการ ก็เพราะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า และสัญญาณยังสามารถแพร่กระจายเข้าไปในตัวตึกได้ดีกว่าความถี่สูง ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานทางวิศวกรรมที่ใครๆ ก็ทราบกันดี ความถี่ต่ำจึงใช้ในการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุม ส่วนความถี่ย่านสูงอย่าง 2.3GHz และ 2.6GHz ก็นำมาเสริมด้าน Capacity


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...