หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

เริ่มต้นกับ Bluetooth

พื่อความสะดวกสบาย ความคล่องตัวและมีอิสระในการใช้งานอุปกรณ์พกพา โดยกินกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้งานได้นาน ได้อัตราการรับส่งข้อมูลสูง และมีต้นทุนการให้บริการต่ำ บูลทูธ จึงเป็นคำตอบสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าว  โดยความต้องการคือ ให้เครือข่ายบูลทูธเป็นเครือข่ายเฉพาะกิจขนาดเล็ก เช่น ใช้ในบ้าน ในที่ทำงาน โดยเครือข่ายเหล่านั้นเชื่อมโยงต่ออินเทอร์เน็ตได้ หรือแบ่งปันทรัพยากรกันได้ บูลทูธไม่เน้นการครอบคลุมพื้นที่กว้าง แต่ทำให้การเข้าถึงเครือข่ายทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น


บลูทูธ (Bluetooth)  เป็นระบบสื่อสารแบบสองทางโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz มีระยะทำการประมาณ 5-10 เมตร โดยระยะในการรับส่งสัญญาณจะขึ้นอยู่กับ power class ของคลื่นวิทยุ อุปกรณ์ส่วนมากจะเป็น class 2 ซึ่งจะทำให้ระยะทางในการรับส่งไกลถึง 10 เมตร ถ้าต้องการระยะการรับส่งที่ไกลขึ้น ก็สามารถใช้ class 1 ซึ่งมีกำลังส่งมากกว่าได้ แต่พลังงานที่ใช้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ด้านการใช้งานที่เห็นใช้กันอยู่ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งข้อมูลระหว่าง คอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ และ โทรศัพท์มือถือกับชุดหูฟัง (Smalltalk) โดยจะส่งถ่ายข้อมูลที่ความเร็ว 1 Mbps  มีข้อดีกว่าการใช้งานอินฟราเรดคือไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรง

Bluetooth Network

การเชื่อมต่อเครือข่าย Bluetooth
ระบบเครือข่าย Bluetooth เรียกว่า piconet กรณีที่ง่ายที่สุดคือการที่มีอุปกรณ์ 2 ตัวต่อเชื่อมกัน อุปกรณ์ตัวที่เริ่มต้นการเชื่อมต่อ เรียกว่า master และอุปกรณ์อื่นๆบนเครือข่ายเรียก slave การใช้งาน Bluetooth ส่วนใหญ่จะเป็นแบบจุดต่อจุด
  
Piconet & Scatternet

การเชื่อมต่อโดย Bluetooth ปกติจะเป็น ad hoc connection กล่าวคือ เครือข่ายจะถูกสร้างขึ้นสำหรับงานปัจจุบันเท่านั้น การเชื่อมต่อจะสิ้นสุดลงเมื่อการส่งข้อมูลเสร็จสมบูรณ์

อุปกรณ์ที่เป็น master สามารถมี slave ได้มากที่สุด 7 ตัว แต่จะมี data rate จำกัด อุปกรณ์หนึ่งๆสามารถเชื่อมต่อกับ piconet อื่นๆได้อีก เรียกว่า scatternet  ดังแสดงในรูปด้านบน แต่อุปกรณ์นั้นๆ จะสามารถเป็น master ได้ทีละ piconet ในเวลาหนึ่งๆ สำหรับการทำหน้าที่เป็น master หรือ slave นั้นสามารถสับเปลี่ยนกันได้ระหว่างการเชื่อมต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...