หน้าเว็บ

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความถี่ 3G มาตรฐานบ้านเรา

3G ข้อจำกัดอย่างหนึ่งที่ส่งผลถึงคุณภาพการให้บริการ ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆไม่ค่อยได้รับทราบกัน นั่นคือ เรื่องของความถี่ เพราะความถี่ 3G ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น 850/900 MHz ล้วนแล้วแต่ถูกเจียดถูกเฉือนมาใช้งาน ทำให้ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมาก อีกทั้งเป็นความถี่ที่ใกล้หมดอายุสัมปทาน ทำให้ไม่มีการลงทุนและพัฒนาเครือข่ายอย่างเต็มที่ จะมีก็เพียงแต่ TOT เท่านั้นที่มีความถี่ 2.1 GHz อยู่ในมือ และถึงจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ แถมยังมี MVNO ถึง 5 ราย แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

ITU ได้กำหนดความถี่ 3G ไว้หลายย่านความถี่ แล้วแต่ว่าแต่ละประเทศจะมีการจัดสรรความถี่อย่างไร สำหรับบ้านเรามี 3 ย่านความถี่ดังตารางด้านล่างนี้ครับ

Band
Band Name
Uplink (MHz)
Downlink (MHz)
Total Bandwidth
I (1)
2.1 GHz
1920 - 1980
2110 – 2170
2x60 MHz
V (5)
850 MHz
824 – 849
869 – 894
2x25 MHz
VIII (8)
900 MHz
880 – 915
925 – 960
2x35 MHz
โดย dtac และTruemove H ใช้ ย่าน 850 MHz ซึ่งมี Bandwidth แค่ 25 MHz ส่วน AIS ใช้ย่าน 900 MHz โดยแบ่งความถี่ 2G ที่ใช้งานอยู่มาให้บริการ ทำให้มีข้อจำกัดพอสมควร ส่วน 3G 2.1 GHz TOT เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่เปิดให้บริการในไทยในขณะนี้ โดยมี Bandwidth ขนาด 2x15 MHz ไว้ให้บริการ

 ความถี่ 3G 2.1 GHz มาตรฐานโลก
ความถี่ย่าน 850/900 MHz ทางเทคนิคมีประโยชน์มากคือสามารถส่งสัญญาณได้ไกล แต่มีใช้งานแค่บางประเทศ ทำให้มีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานน้อยกว่า ส่วน 2.1 GHz เป็นความถี่ 3G ที่ใช้งานทั่วโลก เห็นได้จากเครื่องมือถือ สมาร์ทโฟน แท๊บเล็ต และอุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับ 3G จะสามารถรองรับความถี่ 2.1 GHz ได้แทบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ สามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก

ความถี่ 2.1 GHz หรือ 2100 MHz เป็นความถี่สเปคตรัม Band Class I มี Bandwidth 60 MHz คือ ช่วงความถี่ 1920-1980 MHz สำหรับ Uplink และ 2110-2170 MHz สำหรับ Downlink  โดยใช้เทคโนโลยีการเข้าถึงแบบ Frequency Division Duplex หรือ FDD คือ ใช้สองความถี่ (Paired Frequency) แยกกันรับ-ส่ง เรามักจะเห็นรูปแบบการเขียนเช่น 2x15 MHz นั่นคือมี UL=15 MHz และ DL=15 MHz เป็นต้น

UMTS 2100 Band


ประมูลความถี่ 2.1 GHz
Operator มือถือทุกรายต่างเฝ้ารอการเปิดประมูลความถี่ 2.1 GHz หลังจากที่เคยมีการล้มประมูลมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี 2553 โดยครั้งนี้ กทค. ได้วางกำหนดการไว้ ในวันที่ 17 ตุลาคม 2555 โดยรูปแบบการประมูลครั้งนี้จะแบ่งความถี่ 3G 2.1 GHz ที่มีอยู่จำนวน 45 MHz ออกเป็น 9 ใบอนุญาต หรือ 9 slot สลอตละ 5 MHz โดยกำหนดสูงสุดไม่เกิน 20 MHz นั่นคือช่วงความถี่ 1920-1965 MHz (UL) และ 2110-2155 MHz (DL) เพราะอีก 15 MHz ที่เหลือนั้น TOT ถือครองอยู่  โดยราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต

จากการติดตามข่าวพบว่าแต่ละ Operator จะพอใจที่ความจุขนาด 15 MHz แทบทุกราย ถ้าเป็นแบบนั้นจริง ๆ การใช้งานความถี่ 2.1 GHz ก็จะเป็นดังรูปด้านบน เพียงพอต่อผู้ให้บริการแค่ 3 ราย ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น 3 รายใหญ่ที่ครองตลาดอยู่ในขณะนี้ จะมีรายใหม่แจ้งเกิดบ้างไหมหนอ (รึใครจะกล้าแข่ง?) ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะได้ช่วงความถี่ไหนไปใช้ ผมจะกลับมาแก้ไขรูปด้านบนใหม่ หลังจากทราบข่าวแล้ว ถึงตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องของผู้ให้บริการแล้วล่ะ ว่าจะแข่งกันปรับปรุงพัฒนาเครือข่ายให้สามารถใช้งานเทคโนโลยี 3G ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน เพื่อผู้ใช้บริการจะได้ใช้สมาร์ทโฟนให้คุ้มราคาหน่อย ว่าไหม?

หวังว่าการประมูลครั้งนี้จะผ่านพ้นไปได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ด้วยดีก็ตามที อย่าต้องมีอันสะดุดอีกเลย ไม่หวังว่าจะไล่ตามเทคโนโลยีหรือตามเพื่อนบ้านทัน แค่อยากให้ประเทศก้าวต่อไปข้างหน้า เราหยุดอยู่ที่สถานีนี้นานไปแล้ว



ปล.ต่อไปจะซื้อมือถือใหม่สักเครื่องจะได้ไม่ต้องถามว่า รองรับความถี่………..มั้ยครับ?

7 ความคิดเห็น:

  1. [แก้ไข]กทค.เปิดเผยว่า การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซหรือ ประมูล 3จี ของกสทช.จะจัดขึ้นในวันที่ 16 ต.ค.55 โดยจะจัดขึ้นที่สำนักงานกสทช.ถนนพหลโยธิน 8(ซอยสายลม )ช่วงระยะเวลา 8.00–16.30น.

    ตอบลบ
  2. ถึงขณะนี้มีบริษัทเข้ามายื่นเอกสารเพื่อแสดงความประสงค์เข้าร่วมการประมูล 3จี ของกสทช.แล้ว 5 ราย ประกอบด้วย
    1.บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส และ บริษัทในเครือ อีก 2 บริษัท คือ
    2.บริษัท แอดวานซ์ โมบาย บรอดแบนด์ และ
    3.บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก
    ส่วนบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)หรือ ดีแทค เข้าประมูลผ่านบริษัทลูก 2 ราย คือ
    4.บริษัทดีแทค อินเทอร์เน็ต เน็ทเวิร์ก และ
    5.บริษัทดีแทค บรอดแบนด์
    สำหรับทรูมูฟยังเงียบอยู่ แล้วแคท (กสท)ล่ะจะไม่ร่วมกับเขาด้วยเเหรอ

    ตอบลบ
  3. เพิ่มเติมอีก 5 ราย ที่เข้ารับ IM ประมูล 3G แล้ว
    6.บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด
    7.บริษัท ทรูมูฟ จำกัด
    8.บริษัท เคเบิ้ลไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
    9.บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด
    10.บริษัท เรียล มูฟ จำกัด

    ตอบลบ
  4. เพิ่มเติมอีก 5 ราย ที่เข้ารับ IM ประมูล 3G แล้ว
    11.บริษัท บีบี คอนเน็ค จำกัด
    12.บริษัท จาย่า ซ็อฟ วิชั่น จำกัด
    13.บริษัท วิคตอรี่ มอเตอร์ จำกัด
    14.บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)
    15.บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็ม จำกัด (มหาชน)

    ตอบลบ
  5. น่าสนใจครับ อยากให้เกิด Operator เจ้าอื่นมั่ง นอกจากที่มีอยู่ 4 Operator คือ AIS,DTAC,TRUE,TOT

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. อย่าลืมยังมี CAT อีกรายนะครับ สำหรับรายใหม่เห็นทีจะเกิดยากหน่อยครับ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ต้องติดตามกันต่อไปครับ

      ลบ
  6. เพิ่มเติมอีก 2 ราย สุดท้าย ที่เข้ารับ IM ประมูล 3G แล้ว ซึ่งรวมทั้งหมดเป็น 17 ราย
    16.บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)
    17.บริษัท ทานตะวัน เทเลคอมมูนิเคชั่น จำกัด

    ตอบลบ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...